more for - less for

สวัสดีครับ... ท่านที่แวะเวียน เยี่ยมชมอ่านบล็อกของเรา เวียนมาด้วยใจ หรือบังเอิญก็สวัสดี ด้วยใจครับ ผมหยุดเขียนบทความมานามมาก ด้วยเหตุที่ความสนใจของผู้คนยุคนี้ น้อมไปสนใจวีดีโอ ดูและฟังมากกว่าการอ่าน … ก็เพียงหวังว่ายังมีกลุ่มที่สนใจอ่านอยู่ครับ ถึงแม้สื่อสาระเปลี่ยนรูปแบบไป การเข้าถึงมีหลากแนวทาง จะตามกระแส หรือโหนกระบ้าง โอเคครับเข้าเรื่องกันเลย... ผมเคยเขียนบทความ More for less - less for More หลักการตลาด ขายสินค้า ที่นำแบบการขาย สี่แบบมาครั้งหนึ่ง

  • more for less ( ขายมากกำไรน้อย )
  • less for more ( ขายน้อยกำไรมาก )
  • less for less ( ขายน้อยกำไรน้อย )
  • more for more ( ขายมากกำไรมาก )
  • ธุรกิจใหญ่น้อยของคุณเป็นแบบใหน ในสี่แบบนี้ลองเทียบดูครับ หรือมีความมุ่งหมาย อยากปรับเปลี่ยนรูปไปเป็นอีกแบบ นอกเหนือจากที่เป็นอยู่แล้ว ผมก็อยากจะเพิ่มเติมความเห็น ให้เห็นมุมมองสาระ เพื่อท่านจะมีไอเดีย นำเพื่อปรับใช้ทางธุรกิจ ที่มีของท่าน ธุรกิจการค้าขายสมัยนี้เปลี่ยนไปมาก ด้วยเครื่องมือการขายและเข้าถึงของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย จากเดิมใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก จนที่สุดเป็นมือถือ ผ่านระบบแอปต่างๆ โอนเงินและข้อมูลรวดเร็ว หลายๆธุรกิจน้อยใหญ่อาจมีหน้าร้าน บางรายไม่มีหน้าร้าน ทำให้มีการพลิกผัน ของการขายเป็นไปมากตามไปด้วย มีหน้าร้านจำหน่าย หากเช่า ต้นทุนเพิ่ม ( จำหน่ายสองรูปแบบ ) – ไม่มีหน้าร้านต้นทุนสินค้าคงที่ / บ้านเป็นร้านจำหน่าย แขวนหน้าบ้าน หรือจำหน่ายออนไลน์อย่างเดียว

    ตัวอย่าง สินค้าตัวนี้ออกใหม่ ขายดี (ผู้สนใจ รู้ได้จากสื่อที่แชร์ตามโซเชียล ) อีกสอง-สามวันข้างหน้า มันก็พลูกันออกมาจนหั่นราคาให้ผันผวน มันก็เลยเข้าหลัก More for less ขายมากกำไรน้อยไป การผูกขาดหมดไป (คำว่ามีฉันขายอยู่เจ้าเดียว หมดไป) เนื่องจากมาเก็ตแชร์เปลี่ยนไปนั่นเอง ถึงแม้จะเป็นสินค้าลิขสิทธิ์ การก๊อปปี้แบบ หรือเรียนแบบเป็นไปอย่างรวดเร็ว ความเหมือนที่แตกต่าง เหมือนที่รูปแบบ แต่วัสดุอาจเหมือนหรือเปลี่ยน อีกทั้ง ความเห็น เป็นกระแส ให้ผู้ต้องการบริโภคตัดสินใจซื้อสินค้านั้นได้ รวมทั้งกลุ่มที่ชอบความเหมือนที่แตกต่าง ราคาเบา เข้าถึงรูปแบบนั้นได้ตามกระแสได้ทัน เมื่อโลกการขายเปลี่ยนไปแบบนี้ การคิดรูปแบบสินค้าใหม่ๆ จึงเกิดขึ้นได้น้อย
    อีกตัวอย่าง ผมย้อนกลับไปราว 20 -25 ปีก่อนที่ร้านขายของชำที่มีอยู่ในตลาดสด ขายสินค้าได้ค่อนข้างขายดี ก่อนที่มาร์ท สมัยใหม่ หรือสโตร์รูปแบบปัจจุบันจะเกิด การต่อยอดธุรกิจการขายนั้น ไม่สามารถส่งต่อให้รุ่นต่อไปได้ ในยุคนี้ ที่สุดก็เลิกกิจการไปเป็นจำนวนมาก ตลาดถูกแชร์กว้างออกไป ผมเองยังไปเคยคิดเลยว่าห้างค้าส่ง เวลานี้จะให้สั่งผ่านออนไลน์ด้วยซ้ำไป หากผมจะซื้อของสดหรือไม่สด ที่ห้างนี้เขาบริการจัดส่งให้ถึงที่ ( รวดเร็วด้วย) ลองคิดถึงแม่ค้าในตลาดสดดูครับ เขาจะปรับตัวอย่างไร ( ห้างส่งแช่ของสดในตู้ทำความเย็น คัดแยกการจำหน่ายเป็นส่วน คืนสินค้าได้หากเกิดปัญหา - แม่ค้าตลาดแช่ในน้ำแข็ง จำหน่ายรวม ซื้อแล้วไม่รับคืน ) ลองคิดเล่นๆดูครับ..ของสองสิ่งมีต้นทุนเท่ากัน ขายราคาเท่ากัน หากคุณซื้อคุณจะนำส่วนใหน ไปคิดเพื่อซื้อสินค้านั้น (เช่น. คุณภาพ . สะอาด แมลงไม่ตอม . สด .การบริการ .ลงทะเบียนรับสิทธิ์ . คำขอบคุณ หรืออื่นๆ )
    ขายของสมัยนี้กำไรน้อยจริงๆ สินค้าราคา 100 บาท ค่าจัดส่ง 20 บาทเข้าไปแล้ว เหลือแค่ 80 บาท คุณคิดดูกำไร กับต้นทุนสินค้าจะยังไง คุณจึงเห็นการเติบโตของกลุ่มโลจิสติกส์เป็นอย่างมาก เนื่องจากค่าจัดส่งมีผลตอบแทนสูง แม้นแต่ไปรษณีที่คุ้นกับการส่งจดหมาย กลับหิ้วห่อสินค้าส่งตามบ้านมากกว่าจดหมายแทน
    สาธยายเสียยาวเลย ต่อครับ.. ที่นี้จะทำอย่างไรให้หลุดหลักการตลาด More for less ขายมากกำไรน้อย ไปสู่ less for more ( ขายน้อยกำไรมาก ) ในความเห็นผม เราควรผลิตสินค้าด้วยตัวเอง หรือจ้างเขาผลิต - การสร้างแบนด์สินค้า มีความจำเป็นมาก รวมถึงผลิตสินค้าที่ประณีต และมีคุณภาพ สินค้ามีเอกลักษ์เฉพาะ เห็นแล้วเป็นที่จดจำ มีคุณค้าทางความรู้สึกที่เป็นเจ้าของ เหมือนกางเกงยีนดังยี่ห้อหนึ่งตัวหลักพันหลักหมื่น ต้นทุนสินค้าบวกลบคูนหารไม่ถึงพันผมเชื่อแบบนั้น แต่ขายเป็นหมื่น คนซื้อก็ซื้อใช้ และก็ไม่ได้บอกใครว่าซื้อเป็นหมื่น สวมใสแล้วใครๆเขาก็รู้คนนี้สวมของเจ็ง เพียงเห็นป้ายแบนด์ ของยีนตัวนั้น และบ่งชี้คุณค้าทางความรู้สึกได้ด้วย ทีนี้ความเพียรพยายามที่จะหลุดหลักการตลาด More for less ขายมากกำไรน้อย / ไปสู่ less for more ( ขายน้อยกำไรมาก ) ได้ไม่ยาก นี้ยังไม่กล่าวถึง ตัวสินค้าที่ผลิตแบบ Limited เลยนะครับ.