รู้อริยสัจ

การรู้อริยสัจทำให้มีตาครบสองตา


ภิกษุ ท. ! บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สามจำพวกอย่างไรเล่า ?
สามจำพวกคือ คนตาบอด (อนฺโธ)
คนมีตาข้างเดียว (เอกจกฺขุ)
คนมีตาสองข้าง (ทฺวิจกฺขุ)
    ภิกษุ ท. ! คนตาบอด เป็นอย่างไรเล่า ?
    คือคนบางคนในโลกนี้ไม่มีตาที่เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น นี้อย่างหนึ่ง ; และไม่มีตาที่เป็นเหตุให้รู้ธรรมที่เป็นกุศลอกุศล - ธรรมมีโทษไม่มีโทษ - ธรรมเลวและธรรมประณีต - ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาวนี้อีกอย่างหนึ่ง.
    ภิกษุ ท. ! นี้แล คนตาบอด (ทั้งสองข้าง)
ภิกษุ ท. ! คนมีตาข้างเดียว เป็นอย่างไรเล่า ?
คือคนบางคนในโลกนี้ มีตาที่เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น ; แต่ไม่มีตาที่เป็นเหตุให้รู้ธรรมที่เป็นกุศลอกุศล - ธรรมมีโทษไม่มีโทษ - ธรรมเลวและธรรมประณีต - ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว.
ภิกษุ ท. ! นี้แล คนมีตาข้างเดียว.
    ภิกษุ ท. ! คนมีตาสองข้าง เป็นอย่างไรเล่า ? คือคนบางคนในโลกนี้ มีตาที่เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือ ทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น นี้อย่างหนึ่ง ; และ มีตาที่เป็นเหตุให้รู้ธรรม ที่เป็นกุศลอกุศล- ธรรมมีโทษไม่มีโทษ - ธรรมเลวและธรรมประณีต - ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว นี้อีกอย่างหนึ่ง.
    ภิกษุ ท. ! นี้แล คนมีตาสองข้าง. ...
คนมีตาสมบูรณ์
ภิกษุ ท. ! ภิกษุมีตาสมบูรณ์ (จกฺขุมา) เป็นอย่างไรเล่า ?
คือภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
“ นี้ความทุกข์,
นี้เหตุให้เกิดทุกข์,
นี้ความดับไม่เหลือทุกข์,
นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ “ ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล ภิกษุมีตาสมบูรณ์
- ติก. อํ. ๒๐/๑๖๒, ๑๔๗/๔๖๘, ๔๕๙.

อกุศลกรรมบถสิบ
ลักษณะความสะอาด – ไม่สะอาด ในอริยวินัย
ก.ความไม่สะอาด / อกุศลกรรมบถสิบ
จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางกาย มี ๓ อย่าง
ความไม่สะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง
ความไม่สะอาดทางใจ มี ๓ อย่าง.
    จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางกาย มี ๓ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
    จุนทะ ! คนบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ มีปกติทำสัตว์มีปาณะให้ตกล่วง หยาบช้ามีฝ่ามือเปื้อนด้วยโลหิต มีแต่การฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูใน สัตว์มีชีวิต ๑
    เป็นผู้ มีปกติถือเอาสิ่งของที่มีเจ้าของมิได้ให้ คือวัตถุอุปกรณ์ แห่งทรัพย์ของบุคคลอื่นที่อยู่ในบ้านหรือในป่าก็ตาม เป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่เขา ไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย ๑
    เป็นผู้ มีปกติประพฤติผิดในกาม (คือประพฤติผิด) ในหญิง ซึ่งมารดารักษา บิดารักษา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง หรือญาติรักษา อันธรรมรักษา เป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ในสินไหม โดยที่สุด แม้หญิงอันเขาหมั้นไว้ (ด้วยการคล้องพวงมาลัย) เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตใน รูปแบบเหล่านั้น ๑ :
    จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความไม่สะอาดทางกาย ๓ อย่าง.
จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
จุนทะ ! คนบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ มีปกติกล่าวเท็จ ไปสู่สภาก็ดี ไปสู่ บริษัทก็ดี ไปสู่ท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี ไปสู่ท่ามกลางศาลาประชาคมก็ดี ไปสู่ ท่ามกลางราชสกุลก็ดี อันเขานำไปเป็นพยาน ถามว่า “บุรุษผู้เจริญ ! ท่านรู้ อย่างไร ท่านจงกล่าวไปอย่างนั้น” ดังนี้ ,
บุรุษนั้น เมื่อไม่รู้ก็กล่าวรู้ เมื่อรู้ก็กล่าวไม่รู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น เมื่อเห็นก็กล่าวไม่เห็น, เพราะเหตุตนเอง เพราะเหตุผู้อื่นหรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสไร ๆ ก็เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งที่ รู้อยู่ ๑
เป็นผู้ มีวาจาส่อเสียด คือฟังจากฝ่ายนี้แล้วไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อ ทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังจากฝ่ายโน้นแล้วมาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น
เป็นผู้ทำคนที่สามัคคีกันให้แตกกันหรือ ทำคนที่แตกกันแล้วแตกกันยิ่งขึ้น พอใจ ยินดี เพลิดเพลินในการแตกกันเป็นพวก
เป็นผู้กล่าววาจาที่กระทำให้แตกกันเป็นพวก ๑
เป็นผู้ มีวาจาหยาบ อันเป็นวาจาหยาบคาย กล้าแข็ง แสบเผ็ด ต่อผู้อื่น กระทบกระเทียบผู้อื่น แวดล้อมอยู่ด้วยความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อ สมาธิ เขาเป็นผู้กล่าววาจามีรูปลักษณะเช่นนั้น ๑
เป็นผู้ มีวาจาเพ้อเจ้อ คือเป็นผู้กล่าวไม่ถูกกาล ไม่กล่าวตามจริง กล่าวไม่อิงอรรถไม่อิงธรรม ไม่อิงวินัย เป็นผู้กล่าววาจาไม่มีที่ตั้งอาศัย ไม่ถูกกาลเทศะ ไม่มีจุดจบ ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ๑ :
จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความไม่สะอาดทางวาจา ๔ อย่าง.
    จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางใจ มี ๓ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
    จุนทะ ! คนบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ มากด้วยอภิชฌา (ความโลภเพ่งเล็ง)
    เป็นผู้โลภเพ่งเล็งวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของผู้อื่น ว่า “สิ่งใดเป็นของผู้อื่น สิ่ง นั้นจงเป็นของเรา” ดังนี้ ๑ เป็นผู้ มีจิตพยาบาท มีความดำริในใจเป็นไป ในทางประทุษร้าย ว่า “สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้จงเดือดร้อน จงแตกทำลาย จง ขาดสูญ จงพินาศ อย่าได้มีอยู่เลย” ดังนี้เป็นต้น ๑
    เป็นผู้ มีความเห็นผิดมีทัสสนะวิปริตว่า “ทานที่ให้แล้ว ไม่มี (ผล) , ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล) , การบูชาที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล) , ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว ไม่มี , โลกนี้ ไม่มี , โลกอื่น ไม่มี , มารดา ไม่มี, บิดา ไม่มี, โอปปาติกะสัตว์ ไม่มี, สมณพราหมณ์ที่ไปแล้วปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้ และโลกอื่นด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็ไม่มี” ดังนี้ ๑ :
    จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความไม่สะอาดทางใจ ๓ อย่าง.
    จุนทะ ! เหล่านี้แล เรียกว่า อกุศลกรรมบถสิบ.
จุนทะ ! บุคคลประกอบด้วยอกุศลกรรมบถสิบเหล่านี้ ลุกจาก ที่นอนตามเวลาแห่งตนแล้ว แม้จะลูบแผ่นดิน ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้, แม้จะไม่ลูบแผ่นดิน ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้; แม้จะจับโคมัยสด ก็เป็น คนสะอาดไปไม่ได้, แม้จะไม่จับโคมัยสด ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้; แม้จะจับ หญ้าเขียวก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้, แม้จะไม่จับหญ้าเขียว ก็เป็นคนสะอาดไป ไม่ได้; แม้จะไม่บำเรอไฟ ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้; แม้จะไหว้ดวงอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้, แม้จะไม่ไหว้ดวงอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้; แม้จะลงน้ำในเวลาเย็นเป็นครั้งที่สาม ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้, แม้จะไม่ลง น้ำในเวลาเย็นเป็นครั้งที่สาม ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้.
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
    จุนทะ ! เพราะเหตุว่า อกุศลกรรมบถสิบ ประการเหล่านี้ เป็นตัวความไม่สะอาด และเป็นเครื่องกระทำ ความไม่สะอาด. จุนทะ ! อนึ่ง เพราะมีการประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ทั้งสิบประการเหล่านี้เป็นเหตุ นรกย่อมปรากฏ กำหนดเดรัจฉานย่อมปรากฏ เปรตวิสัยย่อมปรากฏ หรือว่า ทุคคติใด ๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี.
- ทสก. อํ. ๒๔/๓๐๖/๑๘๙ (อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย )
ความสะอาด / กุศลกรรมบถสิบ
จุนทะ ! ความสะอาดทางกายมี ๓ อย่าง
ความสะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง
ความสะอาดทางใจมี ๓ อย่าง.
จุนทะ ! ความสะอาดทางกาย มี ๓ อย่าง นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? คลิก อ่านต่อ... ! อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๑๕๖๘ - ๑๕๗๒