ธรรมวินัยจากพุทธโอษฐ์

สุตฺตนฺตปิฏเก

ปญฺจโม ภาโค
สํยุตฺตนิกายสฺส มหาวารวคฺโค


ธรรมวินัยจากพุทธโอษฐ์
ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ
อานนท์ ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า
“ธรรมวินัยของพวกเรา
มีพระศาสดาล่วงลับไปแล้ว
พวกเราไม่มีพระศาสดา ดังนี้”
อานนท์ พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น
“อานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี
ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย
ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย
โดยกาลล่วงไปแห่งเรา”
สิยา โข ปนานนฺท ตุมฺหากํ เอวมสฺส อตีตสตฺถุกํ ปาวจนํ นตฺถิ โน สตฺถาติ น โข ปเนตํ อานนฺท เอวํ ทฏฺฐพฺพํ โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา.
มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐/๑๗๘/๑๔๑.
พุทธวจน
อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโน
อถายํ อิตรา ปชา ตีรเมวานุธาวติ ฯ
เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน
เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ ฯ
กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต
โอกา อโนกมาคมฺม วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ
ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย หิตฺวา กาเม อกิญฺจโน
ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต ฯ
เยสํ สมฺโพธิยงฺเคสุ สมฺมา จิตฺตํ สุภาวิตํ
อาทานปฏินิสฺสคฺเค อนุปาทาย เย รตา
ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตาติ ฯ
ในพวกมนุษย์ ชนที่ไปถึงฝั่งมีจำนวนน้อย
แต่หมู่สัตว์นอกนี้ ย่อมวิ่งไปตามฝั่งนั่นเอง
ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
ชนเหล่านั้นข้ามบ่วงมฤตยูซึ่งแสนยากที่จะข้ามไปถึงฝั่งได้
บัณฑิตพึงละธรรมฝ่ายดำเสียเจริญธรรมฝ่ายขาว
ออกจากความอาลัย อาศัยธรรมอันไม่มีความอาลัยแล้ว
พึงละกามเสีย เป็นผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกังวล
ปรารถนาความยินดีในวิเวก ที่สัตว์ยินดีได้ยาก
บัณฑิตพึงยังตนให้ผ่องแผ้ว จากเครื่องเศร้าหมองจิต
ชนเหล่าใดอบรมจิตดีแล้วโดยชอบในองค์เป็นเหตุให้ตรัสรู้
ไม่ถือมั่น ยินดีแล้วในความสละคืนความถือมั่น
ชนเหล่านั้นเป็นผู้สิ้นอาสวะ มีความรุ่งเรือง ปรินิพพานแล้วในโลกนี้.

คลิกดาวน์โหลด ธรรมวินัยจากพุทธโอษฐ์ ... 1190 หน้า พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค


คลิกฟัง...ธรรมบรรยาย ยามเช้าพร้อมคำอธิบาย..

ความไม่ประมาทเลิศกว่ากุศลธรรม

ภิกฺขเว สตฺตา อปทา วา ทฺวิปทา วา จตุปฺปทา วา พหุปฺปทา วา รูปิโน วา อรูปิโน วา สญฺญิโน วา อสญฺญิโน วา เนวสญฺญี- นาสญฺญิโน วา
ตถาคโต เตสํ อคฺคมกฺขายติ อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ฯ เอวเมว โข ภิกฺขเว เย เกจิ กุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต อปฺปมาทมูลกา อปฺปมาทสโมสรณา อปฺปมาโท เตสํ ธมฺมานํ อคฺคมกฺขายติ ฯ อปฺปมตฺตสฺเสตํ
ภิกฺขเว ภิกฺขุโน ปาฏิกงฺขํ อริยํ อฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ ภาเวสฺสติ อริยํ อฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ พหุลีกริสฺสตีติ ฯ

ตถาคตสูตรที่ ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้าก็ดี มี ๒ เท้าก็ดี มี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี มีประมาณเท่าใด
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่า เป็น ผู้เลิศกว่า สัตว์เหล่านั้นฉันใด กุศลธรรมเหล่า ใดเหล่าหนี่ง ทั้ง หมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่า กุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ไม่ประมาท พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ .
ตถาคตสูตร
ความไม่ประมาทเลิศกว่ากุศลธรรมกถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อปฺปมตฺโต อริยํ อฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ ภาเวติ อริยํ อฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ พหุลีกโรติ ฯ อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สมฺมาทิฏฺฐึ ภาเวติ นิพฺพานนินฺนํ นิพฺพาน- โปณํ นิพฺพานปพฺภารํ ฯเปฯ สมฺมาสมาธึ ภาเวติ นิพฺพานนินฺนํ นิพฺพานโปณํ นิพฺพานปพฺภารํ ฯ เอวํ โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ อปฺปมตฺโต อริยํ อฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ ภาเวติ อริยํ อฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ พหุลีกโรตีติ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ
ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
โอรัมภาคิยสูตร
ภิกฺขเว โอรมฺภาคิยานิ สญฺโญชนานิ ฯ กตมานิ ปญฺจ ฯ
  • สกฺกายทิฏฺฐิ
  • วิจิกิจฺฉา
  • สีลพฺพตปรามาโส
  • กามจฺฉนฺโท
  • พฺยาปาโท ฯ
อิมานิ โข ภิกฺขเว ปญฺโจรมฺภาคิยานิ สญฺโญชนานิ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องตํ่า ๕ อย่างนี้ ๕ อย่าง เป็นไฉน ? ได้แก่
  • สักกายทิฏฐิ ๑
  • วิจิกิจฉา ๑
  • สีลัพพตปรามาส ๑
  • กามฉันทะ ๑
  • พยาบาท ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องตํ่า ๕ อย่างนี้แล.
อิเมสํ โข ภิกฺขเว ปญฺจนฺนํ โอรมฺภาคิยานํ สญฺโญชนานํ อภิญฺญาย ปริญฺญาย ปริกฺขยาย ปหานาย ฯเปฯ อยํ อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค ภาเวตพฺโพติ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องตํ่า ๕ อย่างนี้แล ฯลฯ
    ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ.
คลิกอ่าน เพิ่มเติม...โอรัมภาคิยสูตร / หน้า 277

รวมหนังสือ ขุมทรัพย์จากพุทธโอษฐ์