เวรัญชกัณฑ์

เหตุให้พรหมจรรย์ตั้งมั่นหรือไม่ตั้งมั่น

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ โคนไม้สะเดาใกล้เมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่.
เวรัญชพราหมณ์ได้ทราบกิตติศัพท์ สรรเสริญ จึงเข้าไปเฝ้าแต่มิได้ถวายบังคม หลังจากทักทายปราศรัยแล้ว ก็ได้กล่าวว่า ได้ข่าวเขาพูดว่าพระสมณโคดมไม่ยอมไหว้หรือลุกขึ้นต้อนรับ พราหมณ์ผู้สูงอายุ การที่พระสมณโคดมทำเช่นนั้น ย่อมไม่สมควร พระพุทธเจ้าตรัสรับว่า พระองค์มิได้ไหว้พราหมณ์ผู้สูงอายุจริง เวรัญชพราหมณ์ จึงกล่าววาจารุกราน ด้วยถ้อยคำที่ถือกันในสมัยนั้นว่า เป็นคำดูหมิ่นเหยียดหยาม รวม ๘ ข้อ เช่น คำว่าพระสมณโคดมเป็นคนไม่มีรสชาติ, เป็นคนไม่มีสมบัติ, เป็นคนนำให้ฉิบหาย, เป็นคนเผาผลาญ เป็นต้น.
    แต่พระผู้มีพระภาคทรงอธิบายคำเหยียดหยามนั้นไปในทางดี เช่นว่า
  • ใครจะว่าไม่มีรสชาติก็ถูก เพราะท่านไม่ติดในรส คือ รูป เสียง เป็นต้น
  • ใครจะว่าไม่มีสมบัติก็ถูก เพราะท่านไม่ติดสมบัติ คือ รูป เสียง เป็นต้น
  • ใครจะว่า นำให้ฉิบหายก็ถูกเพราะท่านแสดงธรรมทำให้บาป อกุศล ทุกอย่างให้ฉิบหาย
  • ใครจะว่าเป็นคนเผาผลาญก็ถูก เพราะท่านเผาผลาญบาป อกุศลอันเป็นที่ตั้งแห่งความเดือนร้อนทั้งหมด.
เมื่อตรัสตอบ แก้คำดูหมิ่นเหยียดหยามของพราหมณ์ตกทุกข้อโดย ไม่ต้องใช้วิธีด่าตอบ หากใช้วิธีอธิบายให้เป็นธรรมะสอนใจได้ ดังนั้นแล้ว
จึงตรัสอธิบายเหตุผลในการที่พระองค์ไม่ไหว้พราหมณ์ผู้สูงอายุ โดย เปรียบเทียบว่าลูกไก่ตัวไหนเจาะฟองไข่ออกมาได้ก่อน ลูกไก่ตัวนั้นควรนับว่า แก่กว่าลูกไก่ตัวอื่น พระองค์เจาะฟองไข่ คือ อวิชชาก่อนผู้อื่น จึงถือได้ว่าเป็น ผู้แก่กว่าผู้อื่น.
เวรัญชพราหมณ์ได้ฟังก็เลื่อมใส ประกาศตนเป็นอุบาสก ถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต แล้วกราบทูลอาราธนาให้ทรงจำพรรษาอยู่ใน เมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ พระองค์ทรงรับโดยดุษณีภาพ.
ทรงสรรเสริญเหล่าภิกษุว่าเป็นผู้ชนะ แม้จะยากลำบาก ก็ไม่ทิ้งธรรม ในสมัยนั้น เมืองเวรัญชาเกิดทุพภิกขภัย หาอาหารได้ยาก ถึงขนาดต้อง ใช้สลากปันส่วนอาหาร ผู้คนล้มตายกันกระดูกขาวเกลื่อน. ภิกษุทั้งหลายลำบาก ด้วยอาหารบิณฑบาต ได้อาศัยข้าวตากสำหรับเลี้ยงม้าจากพ่อค้าม้าที่พักแรม ฤดูฝน ณ เมืองนั้น วันละ ๑ ฝายมือต่อรูปมาตำให้ละเอียดฉัน พระผู้มีพระภาค ทรงสรรเสริญเหล่าภิกษุว่าเป็นผู้ชนะ (แม้จะยากลำบาก ก็ไม่ทิ้งธรรมแสวง หาในทางที่ผิด เป็นตัวอย่างแก่หมู่ภิกษุในภายหลัง) พระโมคคัลลานะ เสนอวิธีแก้ไขความอดอยากหลายประการ รวมทั้งการไปเที่ยวบิณฑบาตในที่อื่นแต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต.

เหตุที่ทำให้พรหมจรรย์(พระศาสนา) ตั้งมั่น หรือไม่ตั้งมั่น

ส่วนพระสารีบุตร คำนึงถึงความตั้งมั่นแห่งพรหมจรรย์ จึงกราบทูลถาม ถึงเหตุที่ทำให้พรหมจรรย์ตั้งมั่น และไม่ตั้งมั่น
พระผู้มีพระภาคทรงตรัสแสดงว่า
    ดูก่อนสารีบุตร พระผู้มีพระภาคพระนามกกุสันธะ พระนาม โกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ มิได้ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงแสดง ธรรมโดยพิสดารแก่สาวกทั้งหลาย อนึ่ง สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ของพระผู้มีพระภาคทั้ง สามพระองค์นั้นมีมาก สิกขาบทก็ทรงบัญญัติ ปาติโมกข์ก็ทรงแสดง แก่สาวก เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะ อันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่าง ชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงดำรง พระศาสนานั้นไว้ได้ตลอดระยะกาลยืนนาน
    ดูก่อนสารีบุตร ดอกไม้ต่าง พรรณที่เขากองไว้บนพื้นกระดาน ร้อยดีแล้วด้วยด้าย ลมย่อมกระจาย ไม่ได้ ขจัดไม่ได้ กำจัดไม่ได้ซึ่งดอกไม้เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะ เขาร้อยดีแล้วด้วยด้าย ฉันใด เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูล ต่างกัน จึงดำรงพระศาสนานั้นไว้ได้ ตลอดระยะกาลยืนนาน ฉันนั้นเหมือนกัน”
และตรัสว่า การไม่ทำดังนั้นเป็นเหตุให้พรหมจรรย์ดำรงอยู่ไม่นาน.

ทูลขอให้บัญญัติสิกขาบทแสดงปาติโมกข์เพื่อความตั้งมั่นแห่งพรหมจรรย์

พระสารีบุตรจึงกราบทูลขอให้ทรงบัญญัติสิกขาบท เพื่อความตั้งมั่นแห่ง พระศาสนา พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
จงรอก่อน สารีบุตร จงยับยั้งก่อนสารีบุตร ตถาคตผู้เดียวจักรู้กาล ในกรณีย์นั้น พระศาสดายังไม่บัญญัติสิกขาบท ยังไม่แสดงปาติโมกข์ แก่สาวก ตลอดเวลาที่ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะบางเหล่า ยังไม่ปรากฏ ในสงฆ์ในศาสนานี้
    ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โตเพราะตั้งมานาน…
    ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โตเพราะแผ่ไปเต็มที่…
    ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โตเพราะเจริญด้วยลาภ.
    และอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ย่อมปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ.
ดูก่อนสารีบุตรก็ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสนียด ก็ล้วนไม่มีโทษ ปราศจาก มัวหมองบริสุทธิ์ผุดผ่องตั้งอยู่ในสารคุณ เพราะบรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ภิกษุที่ทรงคุณธรรมอย่างต่ำ ก็เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง เป็นผู้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
เมื่อออกพรรษาแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงชวนพระอานนท์ไปบอก เวรัญชพราหมณ์ ในฐานะผู้นิมนต์ให้จำพรรษา เวรัญชพราหมณ์ นิมนต์พระองค์ พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ฉันในวันรุ่งขึ้น ทรงรับนิมนต์และไปฉันตามกำหนดแล้ว แสดงธรรมโปรดเวรัญชพราหมณ์ แล้วเสด็จจาริกไปสู่เมืองโสเรยยะ เมืองสังกัสส์ เมืองกัณณกุชชะ โดยลำดับ เสด็จข้ามลำน้ำคงคาที่ชื่อปยาคะ ไปสู่กรุงพาราณสี จากพาราณสีสู่เวสาลี ประทับ ณ เรือนยอดในป่ามหาวัน
คลิกดาวน์โหลด...อริยวินัย ประมวลพระพุทธบัญญัติ วิถีชีวิต ที่นำสู่ความเป็นอริยะ
เสียงอ่าน อริยสัจ จากพระโอษฐ์ 1/2

ในทุกๆ โลกธาตุนั้น หมู่สัตว์ผู้มีตัณหาเป็นเครื่องผูก มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น ได้
เวียนว่ายไปในกระแสแห่ง “ทุกข์” ไม่อาจที่จะพ้นได้ซึ่ง อบาย ทุคติ วินิบาต จนกว่าจะได้รู้และกระทำให้แจ้งได้ ซึ่งอริยสัจสี่ (ความรู้อันเป็นทางหลุดพ้น) การเวียนว่ายในลักษณะนี้
มิใช่การเวียนว่ายของจิต หรือวิญญาณ หากแต่เป็นการเวียนวนแห่งความซ้ำไปซ้ำมาของ การเกิดดับในรูปแบบและมิติต่างๆ กัน ตามแต่ลักษณะความหลากหลายของอุปาทานโดยสิ่งที่เกิดดับนี้ ล้วนแต่เป็นสภาพของทุกขัง
    ตถาคต (พระพุทธเจ้า) คือ ผู้ที่มีความสามารถในการตรัสรู้อริยสัจทั้งสี่นี้ด้วยตนเอง พร้อมด้วยความสามารถในการถ่ายทอด ในการแสดง ในการบัญญัติ ในการตั้งขึ้นไว้ใน การเปิดเผย ในการจำแนกแจกแจง ในการทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และการ ได้มาซึ่งความเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะนั้น เป็นผลจากการสร้างเหตุที่มีลักษณะอันเอก ความเพียรอันประมาณมิได้ คาบเวลาที่นับไม่ได้ในข่ายความเข้าใจของหมู่สัตว์ ได้ถูกใช้ไปในการสร้างเหตุปัจจัยอันเอกนี้ เพื่อให้ได้ผลแห่งความเป็นเอกนี้
การที่อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ๒ พระองค์ จะเกิดพร้อมกันในโลกธาตุเดียวกันนั้น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้
“ตถาคตเป็นมัคคัญญู (เป็นผู้รู้มรรค), เป็นมัคควิทู (เป็นผู้รู้แจ้งในมรรค), เป็นมัคคโกวิโท (เป็นผู้ฉลาดในมรรค);
ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้เป็นมัคคานุคา (เป็นผู้เดินตามมรรค) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง”
- พุทธสูตร ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๑/๑๒๖.
คณะงานธัมมะ วัดนาป่าพง กันยายน ๒๕๕๔
พุทธวจน: สื่อหนังสือ (คลิกเพื่อดาวน์โหลด)
  • อริยสัจ จากพระโอษฐ์ 2/2
  • ประมวลพระพุทธบัญญัติ อริยวินัย จากพระไตรปิฎก

  •